เพลงเด็ก


วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

MindMapper เรื่องข้าว


วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2553

กิจกรรมทางภาษาเล่านิทาน เรื่อง เเม่โพสพ
นามมาเเล้วมีครอบครัวยากจนครอบครัวหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยเเม่เเละลูกหลายคน ลูกต้องอดอยากเสมอด้วยความสงสารลูก เเม่จึงตั้งจิตอธิษฐานว่าหากตนจะต้องตายก็ไม่ว่า ขอเพียงได้ช่วยให้ลูกได้กินอย่างอิ่มหมีพีมัน ต่อมาเมื่อเเม่ตายลงได้เกิดเป็นต้นข้าว ช่วยให้ลูกมีอาหารเพียงพอที่จะรับประทาน
ต่อมานามเข้าลูกเริ่มลืมความหิวโหย ก็เริ่มกินทิ้งกินขว้างไม่ประหยัดทำให้เเม่โพสพเสียใจมาก ในเวลาดึกสงัด หากไปตามยุ้งตามฉาง จะได้ยินเสียงเเม่โพสสะอื้นให้เด็กๆ ก็เช่นเดียวกัน หากรับประทานข้าวไม่หมด ปล่อยให้ตกหล่นทิ้งขว้าง เเม่โพสพก็จะร้องไห้เช่นเดียวกัน

เพลง ฉันคือข้าว
ฉันคือข้าวที่เด็กกินทุกวัน ช่วยกายาเติบโตใหญ่ให้เเข็งเเรง
ข้าวใส่โม่บดให้เสร็จเมล็ดที่เเข็ง กลายเป็นเเป้งทำขนมอร่อยเอย
เพลง ข้าวทุกจาน
ข้าวทุกจาน อาหารทุกอย่าง
อย่ากินทิ้งขว้าง เป็นของมีค่า
ผู้คนอดอยาก มีมากหนักหนา
สงสารบรรดา เด็กตาดำดำ

คำคล้องจอง รีรีข้าวสาร
รีรีข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก เลือกท้องใบลาน
คดข้าวใส่จาน เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน
พานคนข้างหลังไว้
คำคล้องจอง ข้าวเอยข้าวสุก
ข้าวเอยข้าวสุก ต้องกินทุกบ้านทุกฐานถิ่น
กว่าจะได้ข้าวให้เรากิน ชาวนาสิ้นกำลังเกือบทั้งสิ้น
ต้องทนเเดดทนฝนทนลมหนาว จึงได้ข้าวจากนามาถึงนี่
คนกินข้าวควรนึกไว้ให้จงดี ชาวนามีคุณค่าเเก่เราไม่เบาเลย

การบันทึกครั้งที่ 10

วันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2553

วันนี้อาจารย์ได้ให้เสนองานนิทานอะไรเอยต่อ
แล้วนำเสนองานที่ไปเล่นนิทาน

บรรยากาศห้องเรียน

ทุกคนตั้งใจทำงานส่ง บรรยากาศเย็นสบาย

วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่9


วันที่ 22 มกราคม พ.ศ.2553



วันที่ตอนเช้าฉันได้ไปเล่านิทานประกอบภาพ
เรื่องสุนัขจิ้งจอกกับแพะ ให้น้องๆอนุบาล 3 ฟัง น้องๆให้ความสนใจมาก
คอยซักถามตลอดเวลา เช่น

พี่คะสุนัขจิ้งจอกเป็นสัตว์ไม่ดีใช่มั้ยคะ

พี่ครับสุนัขจิ้งจอกหลอกเเพะใช่มั้ยครับ



บรรยากาศในห้องเรียนวันนี้

น่าเบื่อ อาจารย์ให้เพื่อนเสนองานที่ไปเล่านิทาน
วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553
บันทึกครั้งที่ 8
วันนี้อาจารย์ทบทวนและพูดคุยกับนักศึกษา เกี่ยวกับงานกลุ่มที่สั่งให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม4คน 6กลุ่ม จัดกิจกรรมทางภาษาที่โรงเรียนอนุบาลสาธิตจันทรเกษม อาจารย์บอกรายละเอียดและยกตัวอย่างกิจกรรมของแต่ละกลุ่มให้นักศึกษาฟัง และฝึกให้นักศึกษาคิดตาม พร้อมทำความเข้าใจ
-พร้อมทั้งให้นักศึกษาทำตารางการจัดกิจกรรมทางภาษาส่งมาให้อาจาย์ดูทุกกลุ่ม
-รวมทั้งอาจารย์ตรวจงานปริศนาคำทายให้กับนักศึกษา และยกตัวอย่างการพิมพ์คำและแยกคำเพื่อใช้ในการอ่านให้เด็กอ่านง่ายและให้เด็กได้จำคำต่างๆได้

บรรยากาศในห้องเรียน
วันนี้อากาศเย็นสบาย มีการให้นักศึกษาลอง
ออกมานำเสนองานปริศนาคำทายทีละคน
วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2553
บันทึกครั้งที่7
วันนี้อาจารย์สอนต่อจากอาทิตย์ที่แล้ว เป็นเรื่องของการสั่งงานนอกเวลาเรียน ให้นักศึกษาจับกลุ่มกลุ่มละ4คน แบ่งเป็น6กลุ่ม เล่านิทาน และถามคำถามเด็กพร้อมทั้งทำการบันทึกถ่ายรุปเก็บไว้
บรรยากาศในห้องเรียน
วันนี้บรรยากาศในห้องเรียนค่อนข้างเงียบ เนื่องจากเพื่อนๆส่วนใหญ่ขออนุญาตอาจารย์ไปทำงานเกี่ยวกับวิชามนุษย์และสิ่งแวดล้อมที่ต่างจังหวัด
และมีความรู้สึกว่าข้างนอกวันนี้ฝนตกอากาศวันนี้ค่อนข้างสบาย
บันทึกครั้งที่6
วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ 2552
อาจารย์สั่งงานว่าจะให้นักศึกษาจับกลุ่มวันละ3คน ไปเล่านิทานตอนเช้าให้เด็กฟังที่สาธิตอนุบาลจันทรเกษม ให้วางแผน จดบันทึก และถ่ายรูป (บันทึกลงบล็อก) รายละเอียดต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อม
ควรที่จะเลือกเรื่องแบบไหนเล่าเรื่องอะไร หน่วยที่จะเล่า เป็นต้น
บรรยากาศในห้องเรียน
บรรยากาศเย็นสบาย เรียนแบบสบายๆ มีการถามตอบแสดงความคิดเห็นในห้องเรียน

บันทึกครั้งที่5

วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552
บันทึกครั้งที่5
วันนี้นำเสนองานต่อจากอาทิตย์ที่แล้ว

กลุ่มที่4 การสอนภาษาแบบองค์รวม
การสอนภาษาแบบองค์รวม เป็นปรัชญาแนวคิดความเชื่อที่จะนำไปสู่การปฏิบัติ เป็นการสอนที่เน้นพัฒนาการทุกๆด้าน ทั้งการ ฟัง พูด อ่าน เขียน สิ่งสำคัญในการสอนภาษาแบบองค์รวมคือต้องพัฒนาให้เข้ากับผู้เรียนเป็นสำคัญ

กลุ่มที่5 การจัดประสบการณ์สำหรับเด็ก
การจัดประสบการณ์สำหรับเด็ก ควรคำนึงถึงเด็กเป็นสำคัญ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทุกด้าน การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กในการจัดควรจัดให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กแสดงออกผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ จัดให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ทางภาษา

หลักการจัดประสบการณ์ เป็นวิธีที่เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ให้เด็กลงมือกระทำ ทางด้านจิตวิทยาเป็นการทำให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลง คือการได้ทดลองปฏิบัติ ต้องเป็นการปฏิบัติที่เป็นไปตามธรรมชาติ คือ มีอิสระ สนุกสนาน ไม่มีกรอบ เป้นการจัดบนพื้นฐานความสนุกสนาน ไม่มีขอบเขตบังคับ

บรรรยากาศในการเรียน
การนำเสนองานวันนี้มีข้อผิดพลาด คือ ปัญหาของคำควบกล้ำ ในการนำเสนอ ต้องพยายามฝึก น้ำเสียง คำพูด ภาษา อากาศในห้องเย็นสบาย
วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2552
บันทึกครั้งที่ 4
สิ่งที่ได้รับจากที่เพื่อนนำเสนองาน
เรื่อง การจัดประสบการณ์สำหรับเด็ก
การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กทำให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้สอดคล้องกับพัฒนาการ เพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านการฟัง พูด อ่าน เขียนและต้องผ่านการลงมือกระทำ ทดลอง ปฏิบัติจริง บนพื้นฐานอย่างอิสระ

บรรยากาศในการเรียน
1.เพื่อนนำเสนองานบางครั้งอธิบายไม่เข้าใจ
2.เพื่อนนำเสนอพูดน้ำเสียงยังไม่ชัดเจน คำควบกล้ำ
3..อากาศในห้องเรียนเย็น
วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552

กลุ่ม 1 เรื่อง ความหมายของภาษา
ภาษาเป็นสิ่งจำเป็นในการถ่ายทอดวัฒนธรรม ซึ่งภาษาได้แก่การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน นอกจากนี้ท่าทางหรือสัญลักษณ์ยังเป็นภาษา ซึ่งมีผู้ส่งสารและผู้รับสารต้องเข้าใจความหมายตรงกัน


กลุ่ม 2 เรื่อง ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
ทฤษฎีของเพียเจต์ คือการเรียนรู้ของเด็กเป็นกระบวนการทำงานของระบบประสาท เรียกว่า"ปฏิบัติการ"
ทฤษฎีของบรูเนอร์ เป็นการเรียนรู้จากการทำกิจกรรมผ่านทางสมอง


กลุ่ม 3 เรื่อง จิตวิทยาการเรียนรู้
เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญและจำเป็นในการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์เริ่มเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนตาย ดัง "สิ่งที่ทำให้คนเราแตกต่างจากสัตว์อื่น ๆ ก็เพราะว่า คนย่อมมีปัญญา
องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้
1. แรงขับ เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล
2. สิ่งเร้า เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ
3. การตอบสนอง เป็นปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า
4. การเสริมแรง เป็นการให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยง ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเพิ่มขึ้น


กลุ่ม 4 เรื่อง แนวคิดนักการศึกษา
การสอนภาษาแบบองค์รวม คือการสอนที่เป็นไปตามธรรมชาติ เน้นสื่อที่มีความหมาย ประสบการณ์เดิม
หลักการอ่านและเขียนภาษาแบบองค์รวม
1.ผู้อ่านต้องต้องเก็บข้อมูลและทำความเข้าใจความหมายข้อความที่อ่าน
2.กระบวนการอ่านต้องเชื่อมโยงกับรูปภาพที่เด็กเห็น
3.การเขียนจะเน้นความสัมพันธ์
นักทฤษฎี
ดิวอี้ เกิดจากประสบการณ์การลงมือกระทำ
ไวกอตสกี การเรียนรู้จาการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลใกล้เคียง
ฮอลลิเดย์ สถานการณ์ในสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อภาษาสำหรับเด็ก


กลุ่ม 5 เรื่อง การจัดประสบการณ์สำหรับเด็ก
หลักการจัดการเรียนรู้
ทำให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับพัฒนาการ เพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านการฟัง พูด อ่าน เขียน
และต้องผ่านการลงมือกระทำ ทดลอง ปฏิบัติจริง บนพื้นฐานอย่างอิสระ

สรุปเทคนิคการสอน

วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552
สรุปเทคนิคการสอน


...บันทึกครั้งที่4 ...
เทคนิคการสอนภาษา
การสอนภาษาสำหรับเด็กไม่ใช้เพียงการสอนเฉพาะทักษะการอ่านและการเขียนเท่านั้นครูสามารถประเมินการสอนได้โดยสังเกตเด็กว่าเด็กรู้สึกเครียด เบื่อ ไม่สนุก แสดงว่าครูสอนไม่ถูกต้อง
แนวคิดพื้นฐานของการสอนภาษา
1. ครูต้องรู้ว่าเด็กของเราเรียนรู้ได้อย่างไร
2. ประสบการณ์ทางด้านภาษาเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
3. เชื่อว่าเด็กทุกคนสามารถเรียนรู้ได้
4. เด็กเรียนรู้ได้ดี ถ้าสอนแบบ Whole Language คือ
- สอนอย่างเป็นธรรมชาติ
- สอนอย่างมีความหมายต่อเด็ก
- สอนแล้วเด็กสามารถนำคำสอนไปใช้ได้ด้วย
- เนื้อหาที่จะสอนจะต้องใช้ในชีวิตประจำวัน
5. เด็กจะเรียนรู้ได้ดีจะต้องเกิดจากการตัดสิ้นใจของเด็กเอง
6. .ให้เด็กรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคมของห้อง
7. ไม่ควรทำเด็กรู้สึกกดดัน
8. ครูจะต้องสอนทักษะไปพร้อมๆกัน
9. ทำให้การเรียนรู้เป็นสิ่งที่น่าสนใจและสนุกสนาน
ครูสอนภาษาได้อย่างไร
การจะเริ่มสอนภาษาให้เด็กควรเริ่มจากสิ่งที่เด็กสนใจ ครูต้องยอมรับภาษาที่เด็กใช้ จะต้องทำการประเมินหรือสังเกตเด็กในเรื่องเรียนว่าเด็กทำได้มากน้อยเพียงใด และควรส่งเสริมให้เด็กกล้าแสดงตน ในความรู้สึก กล้าลองผิดลองถูก และพัฒนาด้านจิพิสัย
ข้อควรปฏิบัติในการสอนภาษา
ครูควรสอนให้เป็นธรรมชาติมากที่สุด ควรบูรณาการ การเรียนการสอนให้น่าสนใจ จัดกิจกรรมให้เด็กเก่งและเด็กอ่อนมีส่วนร่วมด้วยกันเพื่อมิให้เด็กเกิดปมด้อย ครูควรทำให้เด็กเกิดความสนใจ ในการสอนเกิดแรงกระตุ้นให้เด็กจำคำต่างๆและสอนให้เด็กสะกดชื่อตัวเอง ครูควรเขียนให้เด็กดูเพื่อให้เด็กจดจำได้ง่าย
วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
บันทึกครั้งที่3
วันที่27 พ.ย.52 อาจารย์ ไปสัมนาการพัฒนาหลักสูตร ที่ จ.กาญจนบุรี ให้นักศึกษาค้นคว้าและนำเสนอกิจกรรมและสื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัยโดยเขียนลงในบล็อก

เทคนิคการสอนภาษา
การสอนภาษาสำหรับเด็กต้องรวมถึงทักษะการฟัง การพูดด้วย ไม่ใช่เพียงแต่ทักษะการอ่านการเขียนเท่านั้น เพราะการฟังการพูดเป็นพื้นฐานของการอ่านและการเขียนครูสามารถประเมินผลการสอนของตนเองจากเด็กได้ง่ายๆ โดยสังเกตว่าเราสอนเด็กรู้สึกอย่างไร
แนวคิดพื้นฐานของการสอนภาษา
ครูต้องทราบว่าเด็กของเราเรียนรู้อย่างไรและเด็กเรียนรู้ภาษาอย่างเป็นธรรมชาติอย่างไร ประสบการณ์ทางด้านภาษาของเด็กเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เชื่อว่าเด็กทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ เด็กจะเรียนรู้ได้ดีที่สุด ถ้าเราสอนแบบWhole Language คือ สอนอย่างเป็นธรรมชาติ เนื้อหาอยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กรู้สึกว่าตัวเขาเป็นส่วนหนึ่งในสังคมของห้องเรียน ไม่ให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองกำลังถูกแข่งขัน ครูต้องสอนทุกทักษะไปพร้อมๆกันและเกี่ยวข้อกัน ทำให้การเรียนภาษาของเด็กเป็นสิ่งที่น่าสนใจและสนุกสนาน
ควรสอนภาษาเด็กอย่างไร
ควรเริ่มจากสิ่งที่เด็กรู้แล้วและอยู่ในความสนใจของเด็ก ให้ความเคารพกับภาษาที่เด็กใช้ มีการประเมินโดยการสังเกต ใช้วิธีการประเมินที่เหมาะสม มีการเสนอความคิดต่อผู้ปกครอง ส่งเสริมให้เด็กเรียนอย่างกระตือรือร้น จดประสบการณ์การอ่านและส่งเสริมให้เด็กลงมือกระทำ
ขั้นตอนการอ่านและการเขียน
ข้อควรปฏิบัติในการสอนภาษา
1.ควรสอนในสภาพที่เป็นธรรมชาติที่สุด ไม่ใช่การจับเด็กมานั่งเรียนอย่างเดียว
2.ควรสอนโดยไม่มีการแบ่งแยกกลุ่มเด็กเก่งเด็กอ่อน
3.การที่เด็กเกิดมาพร้อมกับความสนใจอยากรู้แล้ว จะเป็นแรงกระตุ้นให้เขาสามารถจำคำต่างๆได้ โดยครูอาจใช้ความคิดเกี่ยวข้องกับภาษาของเด็กมาสอน ขณะที่เด็กกำลังสนใจที่จะเยนชื่อตัวเอง ก็จะสอนให้เด็กทราบว่าชื่อตัวเองสะกดอย่างไรหรืออาจจะทำเป็นธนาคารคำศัพท์(WORD BANK) ประจำห้องเรียน ที่เด็กๆสามารถมาเปิดดูหรือค้นคว้าได้

การบันทึกครั้งที่2

วันศุกร์ ที่ 13 พฤสจิกายน พ.ศ.2552
คำสั่งอาจารย์ให้นักศึกแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ได้ เป็นกลุ่มที่ 3
หัวข้อ จิตวิทยาการเรียนรู้

บรรยากาศห้องเรียน
วันนี้อากาศในห้องเรียนสบายๆ อากาศไม่เย็นมากนัก การสอนของอาจารย์วันนี้อาจารย์ให้ทำงานเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน

จิตวิทยาการเรียนรู้
ความหมายของการเรียนรู้

นักจิตวิทยาหลายท่านให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้ เช่น
คิมเบิล ( Kimble , 1964 ) "การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรในพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากการฝึกที่ได้รับการเสริมแรง"
ฮิลการ์ด และ เบาเวอร์ (Hilgard & Bower, 1981) "การเรียนรู้ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ทฤษฎีการเรียนรู้ (Theory of Learning) ประดินันท์ อุปรมัย (๒๕๔๐, ชุดวิชาพื้นฐานการศึกษา(มนุษย์กับการเรียนรู้) : นนทบุรี, พิมพ์ครั้งที่ ๑๕, หน้า ๑๒๑) “ การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงของบุคคลอันมีผลเนื่องมาจากการได้รับประสบการณ์ โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเหตุทำให้บุคคลเผชิญสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม “ ประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหมายถึงทั้งประสบการณ์ทางตรงและประสบการณ์ทางอ้อม

ทฤษฎีการเรียนรู้มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนการสอนมาก เพราะจะเป็นแนวทางในการกำหนดปรัชญาการศึกษาและการจัดประสบการณ์ เนื่องจากทฤษฎีการเรียนรู้เป็นสิ่งที่อธิบายถึงกระบวนการ วิธีการและเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้และตรวจสอบว่าพฤติกรรมของมนุษย์ มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญ แบ่งออกได้ ๒ กลุ่มใหญ่ๆ คือ
๑. ทฤษฎีกลุ่มสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Associative Theories)ทฤษฎีนี้เห็นว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus) และการตอบสนอง (Response) ปัจจุบันเรียกนักทฤษฎีกลุ่มนี้ว่า "พฤติกรรมนิยม" (Behaviorism) ซึ่งเน้นเกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนแปลง
ทฤษฎีการวางเขื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์ (Skinner's Operant Conditioning Theory)
B.F. Skinner (1904 - 1990) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ได้ทำการทดลองด้านจิตวิทยาการศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์การเรียนรู้ที่มีการตอบสนองแบบแสดงการกระทำ (Operant Behavior)
๒. ทฤษฎีกลุ่มความรู้ความเข้าใจ (Cognitive Theories)ทฤษฎีการเรียนรู้ที่มองเห็นความสำคัญของกระบวนการคิดซึ่งเกิดขึ้นภายในตัวบุคคลในระหว่างการเรียนรู้มากกว่าสิ่งเร้าและการตอบสนอง นักทฤษฎีกลุ่มนี้เชื่อว่า พฤติกรรมหรือการตอบสนองใดๆ ที่บุคคลแสดงออกมานั้นต้องผ่านกระบวนการคิดที่เกิดขึ้นระหว่างที่มีสิ่งเร้าและการตอบสนอง ซึ่งหมายถึงการหยั่งเห็น (Insight) คือความรู้ความเข้าใจในการแก้ปัญหา

น.ส.พัชฤทธิ์ สิทธิรัตน์

การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย


บันทึกครั้งที่1 วันที่6 พฤศจิกายน พ.ศ.2552









การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึงการเรียนรู้ทางด้านภาษา
ของเด็กปฐมวัย มีการจัดการเรียนรู้ทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ให้มีความรู้ความเข้าใจในภาษาของเด็กปฐมวัยมากขึ้น ทำให้มีการสื่อสารกันอย่างเข้าใจ และได้เรียนรู้พัฒนาการด้านภาษาของเด็ก

บรรยากาศในห้องเรียน



บรรยากาศในห้องเรียน น่าเรียนมาก มีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้ค้นหาความรู้ซึ่งคิดว่าเป็นสิ่งที่ดี อากาศในห้องเรียนก็เย็นสบาย อาจารย์ก็สอนเป็นกันเองกับนักศึกษา



สรุปใจความสำคัญของการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็ก



การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย เป็นการดำเนินงาน วางแผน เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาของเด็ก ประกอบไปด้วย การฟัง พูด อ่าน เขียน และคำนึงถึงความเป็นตัวตนของเด็ก รู้ถึงการเรียนรู้ของเด็ก เป็นการเรียนรู้เตรียมความพร้อมให้กับเด็กได้แสดงออกผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ปาก และสัมผัส



สรุป



การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย คือ การดำเนินงาน วางแผน การเรียนรู้ทางด้านภาษาของเด็ก โดยคำนึงถึงความเป็นตัวตนของเด็ก มีความเข้าใจในด้านภาษาของเด็กมากขึ้น เรียนรู้พัฒนาการต่างๆ ส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาของเด็ก ทั้งการ ฟัง พูด อ่าน เขียน ให้เด็กแสดงออกผ่านประสบการณ์ทั้ง 5 ด้าน

น.ส.พัชฤทธิ์ สิทธิรัตน์

รหัสนักศึกษา5111207337
เลขที่ 13 16/11/52